Facebook

1 มิ.ย. 2556

Red Bull Spirit ปลูกป่าประสานใจปี3


Red Bull Spirit ปลูกป่าประสานใจปี3 ที่หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อช.แก่งกระจาน


 เมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา(24-26/5/56) ได้มีโอกาสเข้าร่วกิจกรรมโครงการ เรดบูล สปิริต 

กับอาสาอีก 98 คนร่วมกิจกรรม  โดยเดินทางด้วยรถกะบะผ่านเส้นทางที่น้อยนักคนจะเข้าถึง 

คละคลุ้งกับฝุ่นดินแดง ทางลูกรัง ตลอดระยะทางกว่า 40 กม. จากอุทยานแห่งชาติแก่งจาน

 เข้าไปในหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย ซึ่งเป็นที่อาศัยของชุมชนชาวกะหร่าง

โดยกิจกรรมหลักๆที่ได้เข้าไปทำคือ ปลูกป่า ปรับหน้าดินสำหรับทำนาขั้นบันได และทำฝายชะลอน้ำ 

คุณ ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้า อช.แก่งกระจาน

พี่ๆเจ้าหน้าที่อช.แก่งกระจาน ที่มาร่วมกิจกรรม

            วันแรกของกิจกรรม แม้จะใช้เวลาเดินทางไปกว่าครึ่งวัน แต่เราก็มีกิจกรรมในวันต้นไม้แห่งชาตินี้ ให้เสียเหงื่อเล็กๆ น้อยๆ ก่อนที่ช่วงเย็นอาสาจะร่วมทำบุญเวียนเทียนกับชาวชุมชนและเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ด้วยการปลูกพืช 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง คือ พืชเศรษฐกิจ พืชเชื้อเพลิง พืชกินได้ อย่างไผ่นวล ไผ่หวาน และต้นเหลียง อาสาแต่ละกลุ่มจะได้ปลูกพืชในพื้นที่ที่แตกต่างกันไป บางกลุ่มปลูกบนเนินเขา บางกลุ่มปลูกริมชายป่า บางกลุ่มปลูกริมลำธาร และบางกลุ่มปลูกรอบๆ หมู่บ้าน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดประโยชน์กับชุมชนฝั่งบางกลอยแล้ว เมื่อพืชเหล่านี้เติบโตและขยายพื้นที่มากขึ้น จะทำให้เกิดความหลากหลายทางระบบนิเวศ ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ดิน และพื้นที่ต้นนํ้าลำธารด้วย

ในวันต่อมาอาสาต้องปฏิบัติภาระกิจ ในการช่วยชาวชุมชนบ้านโป่งลึก ปรับพื้นที่ทำนาขั้นบันได ตามแนวคิดของโครงการปิดทองหลังพระ ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อจัดสรรพื้นที่ และสนับสนุนแนวทางการพึ่งพาตนเอง โดยการส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวแบบนาขั้นบันได ที่เหมาะสมต่อสภาพภูมิประเทศ เพื่อจะทำให้พวกเขาได้มีข้าวกิน และช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ให้กับชุมชนกะหร่างแห่งนี้ เนื่องด้วยการปรับสภาพพื้นที่ในครั้งแรกนั้นค่อนข้างยากลำบาก ต้องตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ใช้งานได้จริง กำลังอาสา ชุมชนบ้านโป่งลึก-บางกลอย และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ที่ร่วมกันทำตลอดทั้งวัน จึงสำเร็จเพียง 5 ไร่ จากพื้นที่ 153 ไร่ เท่านั้น  แต่ด้วยมีคำพูดที่ให้กำลังใจจากหัวหน้าชัยวัฒน์ ที่ว่า “ไม่สำคัญว่าคุณจะทำงานได้ปริมาณมากแค่ไหน แต่สำคัญที่สิ่งที่คุณทำมันใช้ประโยชน์ได้จริงหรือเปล่า”  ต่างก็ทำให้ทุกคนมีแรงที่จะทำกิจกรรมจนเสร็จภาระกิจ
อาสาทั้ง 98 คน เจ้าหน้าที่ และ ชาวกระหร่าง หลังช่วยกันปรับหน้าดินสำหรับทำนาขั้นบันได

วันที่ 3 การทำฝายชะลอน้ำ ทั้ง 4 ฝายเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างในเวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ด้วยกำลังดิน กำลังหิน และกำลังคน แม้พื้นที่จะมีแม่น้ำเพชรไหลผ่าน แต่ในหน้าแล้งมักจะเกิดปัญหาเรื่องน้ำ สำหรับการทำกสิกรรมของชุมชน จึงมีการจัดการเรื่องระบบน้ำขึ้น ทั้งเรื่องการออกแบบระบบท่อส่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูก และการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อประโยชน์ใช้สอยในงานกสิกรรม และสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่า
หลังจากทำฝายชะลอน้ำเสร็จ