Facebook

21 ส.ค. 2556

มาตรฐาน ISO 14001


มาตรฐาน ISO 14001 คืออะไร ?

ในยุคที่สังคมโลกกำลังให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลสืบเนื่องจาก มลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าทาง อากาศ ทางน้ำ การกำจัดของเสีย ฯลฯ ได้ส่งผลกระทบต่อพลเมืองโลกอย่างมาก ผลกระทบนี้เกิดขึ้นกับทุกประเทศในโลก และเป็นเหตุให้เกิดแรงผลักดันให้ องค์การระหว่าประเทศ ว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO (International Organization for Standardization) จัดทำอนุกรมมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม "ISO 14000 Series" ขึ้น

ISO 14000 เป็นชุดของมาตรฐานที่ประกอบไปด้วยมาตรฐานหลายเล่ม เริ่มต้นตั้งแต่หมายเลข 14001 จนถึง 14100 (ปัจจุบัน ISO กำหนดเลขสำหรับมาตรฐานในอนุกรมนี้ไว้ 100 หมายเลข) โดยแต่ละเล่มเป็นเรื่องของมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น โครงสร้างของอนุกรมมาตรฐานนี้แบ่งเป็น
• Environmental Management Systems (EMS)
• Environmental Auditing and Related Environmental Investigations (EA)
• Environmental Labeling (EL)
• Environmental Performance Evaluation (EPE)
• Life Cycle Assessment (LCA)
• Terms and Definitions (T&D)

สำหรับมาตรฐานที่สามารถยื่นขอรับการรับรองได้ก็คือ ISO 14001 Environmental Management Systems Specification with Guidance for Use หรือที่เรียกและเข้าใจกันว่า เป็นมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม นั่นเอง สาระสำคัญในมาตรฐาน EMS มีดังนี้
1. นโยบายสิ่งแวดล้อม (environmental policy) การจัดการสิ่งแวดล้อมเริ่มด้วยผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการอย่างจริงจัง และกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กรขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานของพนักงานในองค์กร

2. การวางแผน (planning) เพื่อให้บรรลุนโยบายสิ่งแวดล้อม องค์กรจึงต้องมีการวางแผนในการดำเนินงาน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- แจกแจงรายละเอียดของกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์กร ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
- แจกแจงข้อกำหนดทางกฎหมาย และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่องค์กรเกี่ยวข้อง และต้องปฏิบัติ
- จัดทำวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- จัดทำโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น

3. การดำเนินการ (implementation) เพื่อให้การดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามแผนที่วางไว้ อย่างน้อยองค์กร ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมถึงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
- กำหนดโครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดการสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ให้พนักงานในองค์กร ทราบถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดการฝึกอบรมตามความเหมาะสม เพื่อให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม มีความรู้ และความชำนาญในการดำเนินงาน
- จัดทำและควบคุมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ควบคุมการดำเนินงานต่างๆ
ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ จัดทำแผนดำเนินการหากมีอุบัติเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งมีการซักซ้อมการดำเนินการอย่างเหมาะสม

4. การตรวจสอบและการแก้ไข (checking & corrective action) เพื่อให้การจัดการสิ่งแวดล้อมได้รับการตรวจสอบและแก้ไข อย่างน้อยการดำเนินการขององค์กร ต้องครอบคลุมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- ติดตามและวัดผลการดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้ แจกแจงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดำเนินการแก้ไข จัดทำบันทึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ

5. การทบทวนและการพัฒนา (management review) ผู้บริหารองค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการ
สิ่งแวดล้อม ในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้การจัดการสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ

ประโยชน์ของ EMS
• บริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นระบบ
• เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี รวมทั้งมีการป้องกันในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
• เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
• ลดภาระค่าใช้จ่าย เนื่องจากมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น การจัดการทรัพยากร การจัดการของเสีย (waste management)
• เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด


                                                                        ที่มาของข้อมูล : http://www.qsbg.org

19 ส.ค. 2556

การบำบัดน้ำเสีย AS


   ระบบบำบัดน้ำเสียนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล เทศบาล และห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีปริมาณน้ำเสียต่อวันเยอะมากๆ และระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Activated Sludge Process เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้ เป็นอย่างมาก
     กระบวนการเอเอสเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบใช้ออกซิเจน โดยอาศัยสิ่งมีชีวิตพวกจุลินทรีย์ ทั้งหลายในการย่อยสลาย ดูดซับ หรือเปลี่ยนรูปของมลสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสีย ให้มีค่าความสกปรกน้อยลง หลักการทำงานของระบบเอเอส เป็นวิธีที่เลียนแบบธรรมชาติ มลสารที่อยู่ในน้ำเสียจะถูกจุลินทรีย์ใช้เป็นอาหาร และเจริญเติบโตขยายพันธุ์ ต่อไป โดยสารอินทรีย์ต่างๆ ในน้ำเสีย เมื่อถูกเปลี่ยนมาเป็นจุลินทรีย์ จะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำและสามารถแยกออกได้ง่าย ด้วยการตกตะกอนในถังตกตะกอน ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะลอยขึ้นไปในอากาศ มีข้อดีคือ สามารถกำจัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ซึ่งพื้นฐานของระบบบำบัดน้ำเสียนี้ จะมีโครงสร้างหลัก และการทำงานแต่ละบ่อคร่าวๆ ดังนี้




         การบำบัดขั้นต้น
  • เครื่องดักขยะขนาดหยาบ (Automatic Bar Screen) ทำหน้าที่ดักขยะชิ้นใหญ่ออกจากน้ำเสีย การทำงานเป็นลักษณะแบบ Automatic โดยใช้ Timer ควบคุมการทำงานทุก 15 นาที
  • เครื่องดักขยะชนิดละเอียด (Fine Screen) ทำหน้าที่ดักขยะที่มีขนาดเล็กๆ
  • บ่อรวบรวมน้ำเสีย (Equalization) ทำหน้าที่รวบรวมน้ำเสียภายในมี Mixer ทำหน้าที่กวนน้ำเสียให้มีคุณสมบัติเท่าเทียมกันหมด ก่อนจะสูบลำเลียงไปสู่ขบวนการบำบัดของแต่ละชั้นทิ้งไป
  • บ่อดักกรวด-ทราย (Aerated Grit Chamber) ทำหน้าที่แยกกรวด-ทราย และคราบไขมันออกจากน้ำเสีย เป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเกิดการชำรุด เสียหาย โดยใช้ Air Lift Pump แยกกรวด-ทรายออกทิ้งไป


         การบำบัดทางชีวภาพ
  • บ่อสัมผัส (Contact Tank) ทำหน้าที่เป็นถังเติมอากาศให้ตะกอนจุลินทรีย์ ในระบบบำบัด สัมผัสจับหรือดูดซับสารอินทรีย์ หรือสิ่งสกปรกในน้ำเสียที่ ผ่านขบวนการบำบัดทางกายภาพมาแล้ว
  • บ่อตกตะกอน (Clarifier Tank) ทำหน้าที่เป็นถังตกตะกอน เมื่อตะกอน จุลินทรีย์จมลงสู่ก้นถัง ภายในจะมีเครื่องกวาดตะกอน (Scraper) ทำหน้าที่กวาดตะกอนให้มารวมอยู่ใน Hopper ก้นถัง ส่วนน้ำใสด้านบนจะไหลล้น Weir ออกมาเป็นน้ำผ่านการบำบัด
  • บ่อสเปรย์น้ำ (Spray Water Tank) ทำหน้าที่รับน้ำที่ผ่านการบำบัด จากนั้น จะสูบน้ำบางส่วนไปสเปรย์ ลดฟองในถังเติมอากาศ และบางส่วนจะถูกส่งไป ผ่านถังกรองทราย (Sand Filter) แล้วจ่ายให้กับรถบรรทุกน้ำไปใช้ประโยชน์ ในการล้างพื้นถนน รดต้นไม้ตามเกาะกลางถนน น้ำส่วนใหญ่ที่เหลือจะถูกส่งไป ถังฆ่าเชื้อโรค
  • บ่อย่อยสลาย (Stabilization Tank) ทำหน้าที่เป็นถังเติมอากาศ (Reaeration Tank) แก่จุลินทรีย์ที่
  • หมุนเวียนอยู่ในระบบ เพื่อให้มีตะกอนจุลินทรีย์มีระยะเวลา ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือสิ่งสกปรกจนหมดก่อนกลับไปสู่บ่อสัมผัส (Contact Tank) อีกครั้ง
        การเกิดสลัดจ์
     สลัดจ์ (Sludge)  เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน 3 ขั้นตอนในถังเติมอากาศ คือ 
  • ขั้นส่งถ่าย (Transfer Step)
  • ขั้นเปลี่ยนรูป (Conversion Step)
  • ขั้นรวมตะกอน (Coag-Flocculation Step)




         การกำจัดสลัดจ์
  • ถังทำให้ตะกอนเข้มข้น (Sludge Thickener Tank) ทำหน้าที่คล้ายถังตกตะกอน โดยสูบตะกอนส่วนเกินมาในถัง Sludge Thickener Tank แล้วปั๊ม Polymer จากเครื่องเตรียม Polymer มาช่วยในการ ตกตะกอนให้เข้มข้นขึ้น มีถัง Flocculation Tank ช่วยในการกวนผสม
  • ถังกักเก็บและย่อยตะกอน (Sludge Storage Tank) ทำหน้าที่กักเก็บรวบรวมตะกอนส่วนเกิน และเกิดการย่อยสลาย ของตะกอนบางส่วน โดยภายในมีการ เติมอากาศอยู่ด้วย
  • เครื่องรีดตะกอน (Dewatering Machine) เป็นเครื่องรีดน้ำออกจากตะกอน โดยใช้ Polymer ช่วย กล่าวคือ ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะของเหลวให้มีลักษณะเป็นของแข็งกึ่งเหลว

    ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของระบบเอเอส 
     1. ความเข้มข้นของสานอินทรีย์ในน้ำเสีย สารอินทรีย์ในน้ำเสียเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในระบบเอเอส ความเข้มข้นของสารอินทรีย์ในน้ำเสียหรือความเข้มข้นของอาหารจึงมีผลต่อการ เจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในระบบ ในกรณีที่อัตราส่วนของอาหารต่อจุลินทรีย์สูง จำนวนจุลินทรีย์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีลักษณะกระจายอยู่ทั่วไป (Dispersed Growth) ไม่รวมตัวเป็นกลุ่มก้อนที่ดีส่งผลต่อการตกตะกอนได้ไม่ดี น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะมีความขุ่นและค่าสารอินทรีย์(ค่าบีโอดี) เหลืออยู่สูง ถ้าอัตราส่วนของอาหารต่อจุลินทรีย์ต่ำ จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตได้น้อยลง และจำนวนลดลง จุลินทรีย์จะตกตะกอนได้รวดเร็วแต่ไม่สามารถจับส่วนเล็กๆ ลงมาได้หมด ทำให้น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วยังมีความขุ่นอยู่สูง ดังนั้นการควบคุมการทำงานที่ดีจึงต้องควบคุมอัตราส่วนของอาหารต่อจุลินทรีย์ ในระบบให้มีค่าเหมาะสม ดังจะกล่าวต่อไป

     2. ธาตุอาหาร จุลินทรีย์ต้องการธาตุอาหาร (Nutrient) นอกเหนือไปจากสารอินทรีย์ต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นพลังงาน ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ เหล็ก โดยปกติแร่ธาตุเหล่านี้มีอยู่ในน้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) แต่ สำหรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอาจมีแร่ธาตุเหล่านี้ไม่เพียงพอ การขาดธาตุอาหารที่สำคัญเหล่านี้จะทำให้จุลินทรีย์ที่สร้างฟล็อกเจริญเติบโต ได้ไม่ดี แต่กลับทำให้จุลินทรีย์ชนิดเส้นใย (Filamentous) เจริญเติบโตได้ดีกว่าและมีปริมาณมากกว่า ส่งผลให้สลัดจ์ไม่จมตัวและอาจไหลปนออกมากับน้ำทิ้ง
    โดย ปกติจะควบคุมให้บีโอดี 100 กก. ต้องมีไนโตรเจน 5 กก. ฟอสฟอรัส 1 กก. และ เหล็ก 0.5 กก. การเติมไนโตรเจนมักเติมในรูปของแอมโมเนียหรือยูเรีย ฟอสฟอรัสจะเติมในรูปของกรดฟอสฟอริก และเหล็กในรูปของเฟอร์ริคคลอไรด์ ในการเติมธาตุอาหารจะต้องสังเกตและวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำออกให้มีค่าแร่ธาตุ ต่างๆ เหลืออยู่เพียงเล็กน้อย การเติมธาตุอาหารที่มากเกินความจำเป็น นอกจากเป็นการสิ้นเปลืองแล้ว ยังเป็นสารมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

    3. ออกซิเจนละลาย ในถังเติมอากาศ จะต้องมีค่าออกซิเจนละลายไม่ต่ำกว่า 2 มก./ล. ซึ่งปริมาณของอากาศหรือออกซิเจนที่ใช้เพื่อรักษาความเข้มข้นของออกซิเจน ละลายนี้จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิของน้ำในถังเติมอากาศสูง จุลินทรีย์จะสามารถทำงานได้มากและออกซิเจนจะมีค่าการละลายอิ่มตัวต่ำจึงทำ ให้น้ำในถังเติมอากาศขณะอุณหภูมิสูงต้องการออกซิเจนมาก ในทางตรงกันข้ามถ้าอุณหภูมิของน้ำในถังเติมอากาศต่ำ ความต้องการออกซิเจนหรือปริมาณการเติมอากาศเพื่อที่จะรักษาระดับความเข้มข้น ของออกซิเจนละลายจะน้อยกว่าที่อุณหภูมิสูง

    4. ระยะเวลาในการบำบัด ระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียในถังเติมอากาศจะต้องมีมากเพียงพอที่ จุลินทรีย์จะใช้ในการย่อยสลายมลสารต่างๆ  หากระยะเวลาในการบำบัดไม่เพียงพอ มลสารบางส่วนโดยเฉพาะมลสารที่ย่อยสลายยากจะถูกย่อยสลายได้ไม่หมด ทำให้มีค่าบีโอดีเหลืออยู่ในน้ำเสียมาก สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในถังตกตะกอนขั้นที่สองก็เช่นเดียวกัน หากมีน้อยเกินไปก็จะทำให้สลัดจ์ตกตะกอนได้ไม่ดี แต่ถ้านานเกินไปก็จะทำให้สลัดจ์ขาดออกซิเจนและเน่าได้

    5. พีเอช ค่าพีเอชมีผลต่อการทำงานของแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีที่ค่าพีเอชระหว่าง 6.5-8.5  ถ้าค่าพีเอชต่ำกว่า 6.5 รา(Fungi) จะเจริญเติบโตได้ดีกว่าแบคทีเรีย ทำให้ประสิทธิภาพของระบบต่ำลง และสลัดจ์ตกตะกอนได้ไม่ดี ถ้าค่าพีเอชสูงจะทำให้ฟอสฟอรัสตกตะกอนผลึก (Precipitate) แยกออกจากน้ำ ทำให้จุลชีพไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้ระบบทำงานได้ไม่ดีเช่นกัน ส่วนในกรณีที่ค่าพีเอชต่ำมากหรือสูงมาก จุลชีพก็จะตายหมดไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

    6. สารพิษ สารพิษแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ แบบพิษเฉียบพลัน ซึ่งจุลินทรีย์จะตายหมดในระยะเวลาอันสั้น (Acute Toxicity) และพิษแบบอกฤทธิ์ช้า (Chronic Toxicity) ใช้ระยะเวลานานและค่อยๆ ตาย พิษเฉียบพลันสามารถสังเกตุดูได้ง่ายเนื่องจากมีผลเกิดขึ้นรวดเร็ว ตัวอย่างสารพิษประเภทนี้ เช่น ไซนาไนด์ สารหนู ส่วนสารพิษออกฤทธิ์ช้าเช่น ทองแดง และโลหะหนักต่างๆ สารพิษที่ออกฤทธิ์ช้านั้นจุลินทรีย์จะสะสมเอาไว้ภายในเซลล์จนเกิดเป็นพิษและ ตายในที่สุด นอกจากนี้ความเป็นพิษอาจเกิดจากสารอินทรีย์ก็ได้ เช่น แอมโมเนียที่มีค่าความเข้มข้นสูงเกิน 500 มก./ล. เป็นต้น

    7. อุณหภูมิ อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในกระบวนการเอเอส โดยทั่วไปการเพิ่มอุณหภูมิขึ้นทุก 10 ˚ซ จะทำให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จนกระทั่งถึงอุณหภูมิประมาณ 37 ˚ อุณหภูมิจะมีค่าสูงเกินไป จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตได้น้อยลง
    เนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำในระบบทำได้ยาก ผู้ควบคุมระบบจึงต้องปรับค่าความเข้มข้นของสลัดจ์ในถังเติมอากาศ ให้มีค่าน้อยเมื่ออุณหภูมิของอากาศสูง และเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิต่ำ  อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทย อุณหภูมิในฤดูร้อนและฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมากนัก จึงไม่ค่อยมีความจำเป็นในการปรับค่าความเข้มข้นของสลัดจ์ตามฤดูกาล นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิยังมีผลต่อการตกตะกอนขั้นที่สอง โดยปกติอุณหภูมิต่ำจะตกตะกอนได้ดีกว่าอุณหภูมิสูง  และถ้าอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันเกิน 2 ˚ซ จะเกิดการไหลวนของน้ำเนื่องจากมีความหนาแน่นที่แตกต่างกันทำให้ประสิทธิภาพของถังตกตะกอนลดลง

    8. การกวน ภายในถังเติมอากาศจะต้องมีการกวนอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันมิให้จุลินทรีย์ตกตะกอน เพื่อให้จุลินทรีย์ได้สัมผัสกับน้ำเสียที่ส่งเข้ามาบำบัด และเพื่อให้สลัดจ์จับตัวกันเป็นฟล็อกที่ดี การกวนที่ถูกต้องจะป้องกันมิให้น้ำเสียไหลลัดวงจร และทำให้ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดมลสารสูง การกวนที่สมบูรณ์ในถังเติมอากาศ(Completely Mixed) จะต้องมีค่า MLSS (Mixed Liquor Suspended Solid) และค่าความเข้มข้นของออกซิเจนละลายสม่ำเสมอทั่วทั้งถัง

    9. อัตราการไหลของน้ำเสีย  การเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำเสียที่ส่งมาเข้าระบบบำบัด มีผลโดยตรงต่อการทำงานของกระบวนการทางชีววิทยาและถังตกตะกอน หากน้ำเสียมีอัตราการไหลเพิ่มขึ้นมาก ระยะเวลาในการบำบัดน้อยลง ค่าสารอินทรีย์จะเพิ่มมากขึ้น และระยะเวลาในการตกตะกอนในถังตกตะกอนขั้นที่สองลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบลดลง ส่วนอัตราการไหลที่น้อยเกินไปก็มีผลเสียเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงควรมีการควบคุมให้มีการส่งน้ำเสียเข้ามาบำบัดอย่างสม่ำเสมอใน อัตราที่ใกล้เคียงกับที่ได้ออกแบบไว้ เช่น อาจสร้างเป็นถังปรับเสมอ (Equalizing Tank) เป็นต้น
    ที่มา : โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา
    และ bio-naroo.com

13 ส.ค. 2556

JBL Flip ลำโพง Bluetooth ขนาดพกพา

อุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมกล่อง

   โดยปกติดที่บ้านก้อมีลำโพงอยู่แล้ว เลยอยากหาลำโพงเพิ่มอีกซักตัว ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ หลังจากดูไปดูมาแล้ว จึงมาจบลงที่เจ้า flip นี่แหละครับ เนื่องจากหลักๆก้อราคาพอรับได้ เสียงดีสมตัว (ต้องลองฟังกันเองน่ะครับ) มีแบตในตัว ที่จะพอใช้ได้ อย่างน้อย 3-5 ชั่วโมง
    หลังจากที่คลุกคลี อยู่กับมันมาได้ซักอาทิย์นึง จึงอยากมารีวิวเล็กๆดูครับ โดยส่วนตัวก้อเป็นคนที่ฟังเพลงทุกแนวๆน่ะครับ โดยหลักๆก้อฟัง rock ครับ



   JBL Flip มีรูปทรงเป็นทรงกระบอก  มีมิติ H x W x D – Metric/English)2-7/16" x 6-5/16"   (63mm x 160mm) ถือว่าค่อยข้างถนัดมือ (แอบเหมือนกระป๋องเบียร์ทรงยาว) นอกจากนี้ ยังรองรับการเชื่อมต่อไร้สาย แบบ Bluetooth ค้นหาค่อนข้างง่ายครับ เหมาะแก่การออกไปฟังนอกบ้าน

    นอกจากนี้ด้านหลัง ของ Flip ยังมีช่อง ต่อ AUX in แบบ 3.5 mm ซึ่ง ถือเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับแจ้คเชื่อม ต่อ แบบเดียวกับช่องหูฟัง ของ มือถือ เครื่องเล่นเพลง และ โน้ตบุ้คทั่วไป และยังมีช่องสำหรับเสียบอแดปเตอร์เพื่อชาทไฟ ซึ่งผมมองว่าเปนจุดด้อยของตัววนี้นะครับ (มันน่าจะสามารถ ชาร์ตผ่าน USB ได้) ได้ไม่ต้องแบกที่ชาทไปมา

    ในตัวแบต JBL Flip ใน spec บอกว่าเล่นได้ ถึง 5 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริง ที่ใช้ เล่นได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง น่าจะขึ้นอยู่กับเพลงและ volume ที่เปิดด้วยมั้งครับ 

   นอกจากนี้อีก ฟังชั่น คือ ตัวลำโพง มีระบบ hand free ครับสามารถกด รับสายได้เลย หาเชื่อมต่อกับ โทรศัพท์ โดยเมื่อสายเข้าจะมีสัญญาน ดังขึ้น แต่ไม่ใช่ ringtone นะครับ  เมื่อกดรับสาย ก็จะสามารถพูดผ่าน JBL Flip ได้เลยครับ 

                           

    ส่วนเรื่องของคุณภาพเสียงนั้น สำหรับทรรศนะของผม ให้เสียงกลาง และเสียงแหลม ได้ค่อนข้างประทับใจเลยครับ ในขณะที่ เบส ถือว่า ค่อนข้างจะน้อย แต่ก็ถือว่าไม่ขึ้เหร่เมื่อเทียบ กับขนาด และ ค่าตัวของมัน โดยส่วนตัวอยากให้ไปลองฟังเสียงสดๆเองที่ร้านมากกว่า ฟังเสียงตามรีวิวในเว็บต่างๆครับ เพราะคุณภาพเสียงแตกต่างกันอยู่แล้วล่ะครับ

   สุดท้ายก้อขอจบการรีวิวเพียงเท่านี้นะครับ เสียเงินสบายตัวกันไป ฮี่ฮี่ๆ สวัสดีครับ !!


5 ส.ค. 2556

จากบ้านลิงสู่บ้านเรา

 เนื่องมาจาก วันนี้ว่างๆ เลยออกไปถ่ายรูปแถวบ้านมานะครับ
จากการที่มีประชากรเพิ่มมากขึ้น หมู่บ้านจัดสรรจึงเพิ่มขึ้น(รวมทั้งบ้านผมด้วยTT)
มีสิ่งปลูกสร้างต่างๆเพิ่มขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์อย่างเรา
ที่อยู่ของลิงแสมจึงลดลง ลดลง และขาดการดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 เกร็ดความรู้นะครับ
ลิงแสม (อังกฤษ: Long-tailed macaque, Crab-eating macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macaca fascicularis จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) จัดเป็นลิงขนาดกลาง มีขนตามลำตัวสีน้ำตาล หางยาวกว่าความยาวของลำตัว ขนตรงกลางหัวมีลักษณะตั้งแหลมชี้ขึ้น ขนใต้ท้องสีขาว โดยสีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ฤดูกาล และถิ่นที่อยู่อาศัย ขนาดความยาวลำตัวและหัวประมาณ 48.5 – 55 เซนติเมตร ความยาวหาง 44 – 54 ซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3.5 – 6.5 กิโลกรัม


ยิ่งกว่ากาในฝูหงส์


เศษข้าวจากคนแถวๆนั้น